สาระศิลป์จะพาท่านไปรู้จักกับ ศิลปินที่มีฝีมือชั้นแนวหน้าระดับเทพแห่งวงการศิลปะ ที่มีชื่อเสียงและอัตลักษณ์ของสี ทีแปรง และบรรยากาศของผลงานสร้างสรรค์ที่ชวนน่าหลงไหล และยังเป็นอีกหนึ่งขุนพลทางศิลปะในโครงการ Great Stars Charity 2018

อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
เกิดในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ เขียนรูป ทำเครื่องหนังตะลุง ขับกลอนมะโนรา

เริ่มสนใจศิลปะตั้งแต่ยังเด็ก พอจบชั้นมัธยมศึกษา ได้ไปศึกษาต่อด้านศิลปะที่ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช วิชาโปรดในช่วงที่กำลังศึกษาที่ วิทยาลัยศิลปะหัตกรรม นครศรีธรรมราช คือวิชา สีน้ำ และ วิชาวาดเส้น ในตอนนั้นได้ research ค้นหาข้อมูล มหาลัยเพื่อที่จะไปศึกษาต่อ ในตอนนั้นมี ม.ศิลปกรกับวิทยาลัยเพราะช่าง ที่เด่นๆ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี เลยตั้งเป้าหมาย ว่าจะมา เอ็นทรานซ์ ที่ ม.ศิลปกร ให้ได้

ตอนกำลังศึกษาอยู่ชั้นปี 2 ที่ วิทยาลัยศิลปะหัตกรรม นครศรีธรรมราช ได้เดินทางเข้า กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ามาสำรวจ การสอบ ว่ามีการสอบอะไรบ้าง พอกลับไปที่ วิทยาลัยศิลปะหัตกรรม นครศรีธรรมราช อาจารย์ได้แนะแนวทางให้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง และได้วางแผนการสอบด้วย และ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ได้เลือกสอบที่มหาวิทยาลัย ศิลปากร พอหลังจากประกาศผลการสอบออก อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี สอบติดที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ได้เขียนจดหมายส่งไปบอกกับ บิดาและมารดา ว่า ผมสอบติดแล้วครับ แล้วบิดาของอ. ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ท่าน ได้บอกกับ อ. ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ว่า เอ็นทรานซ์ติดไม่ยากหรอก เรียนยากกว่า

เมื่อเข้าศึกษที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อนในรุ่นของ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ส่วนมากจะอายุประมาณ 23 – 26 ปี ในตอนนั้นอาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี อายุเพียง 19 ปี ในเพื่อนกลุ่มที่อายุประมาณ 23 – 26 ปี ส่วนมากจะมีความรู้พื้นฐานทางด้านศิลปะ และฝีมือที่ดีกว่า จึงทำให้อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี เริ่มมีความตั้งใจในการเรียนมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเวลาเข้าเรียน เพื่อนกลุ่มนี้ก็จะรู้ว่า ศิลปินท่านนี้เป็นใคร ทำอะไรมาก่อนที่จะดัง เช่น ดาวินชี่ เป็นใคร ทำอะไรถึงดังขนาดนี้ จึงทำให้ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี เริ่มศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลในห้องสมุดของ ม.ศิลปกร เพื่อที่จะตามเพื่อนให้ทัน เมื่อได้เริ่มเรียน อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี รู้สึกว่า การได้มาศึกษาต่อที่ ม.ศิลปกร เกินกว่าใจหวังไปมาก เพราะ อาจารย์และรุ่นพี่ เก่งมาก จึงทำให้ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี หัวใจพองโต และเวลาสอนของอาจารย์ กระตุ้นให้ อยากศึกษามากขึ้น เป้าหมายในช่วงนั้นของ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี คืออยากเป็นศิลปิน

ในตอนที่ กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร อ. ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ได้รับรางวัลจากการประกวดงานศิลปะ อย่างมากมาย เช่น รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๓ เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๓ และ รางวัลยอดเยี่ยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทวาดเส้น การประกวดวาดเส้นและภาพพิมพ์นานาชาติ ครั้งที่ ๑๒ ณ ประเทศไต้หวัน เป็นต้น ผลงานของ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี จะรู้สึกลึกลับ เหมือนความสว่าง ความมืด เหมือนเป็นกวี หรือเป็น ขับกลอน ลึกล้ำซ่อนอยู่ในนั้น ผลงานของ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ได้รับแรงบัลดาลใจ มาจากประการณ์จริง ชีวิตจริง เหมือนตอนที่ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี สร้างสรรค์ผลงาน แอบส แตรก และปรับมาเป็นงานแนว ฟิกเกอร์เนทีฟ ก็คือให้หวือหวาขึ้น ใช้ภาษาของรูปทรงมากขึ้น เพื่อจะพูดในเรื่องราวทำนองเดิมแต่อาจจะเป็นบวกมากขึ้น หรือลบมากขึ้น และก็ไม่ตายตัวว่าจะต้องเป็นงานที่อยู่ฝั่งลบเสมอไป อยู่ฝั่งบวกเสมอไปผลงานของ อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ส่วนใหญ่จะจัดแสดงในมิวเซียมใหญ่ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย moca bangkok

อาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี เคยได้กล่าวถึง นิทรรศการ แฝด 27 เกี่ยวกับเอกลักษณ์ ตัวตนที่มันหลากหลาย นิทรรศการแฝด 27 ก็คือ self portrait หรือ หน้าผม 27 หน้า มีแนวคิดในการที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวเทคนิควิธีการทางจิตรกรรม ตัวจิตรกร และก็แบบบุคคล สร้างไวยากรณ์ทางจิตรกรรม ให้เข้ากับเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาโดยที่มีรูปทรงใบที่เป็นหน้าของอาจารย์ ธณฤษภ์ ทิพย์วารี ผลงานทุกชิ้นก็จะไม่เหมือนกัน
ลักษณะแอ๊คอาจจะใกล้เคียงแต่ไม่เหมือนกัน เทคนิควิธีการเป็นจิตรกรรมกับDrawing แต่ว่าไวยากรณ์หรือวิธีเรียบเรียงตัวภาพทั้งหมดแตกต่างกันหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะได้พบในงานของอาจารย์จะดูแล้งขึงขัง ซีเรียส ดูเข้มข้น ซึ่งถูกประกอบสร้างมาจากแนวความคิด

ผลงานของอาจาย์ธณฤษภ์ ทิพย์วารี สร้างสรรค์จนเกิดอัตลักษณ์ ตั้งแต่อายุ 30 ปีผลงานของอาจารย์ธณฤษภ์ ทิพย์วารี มีการใช้สีที่โดดเด่น ให้ความรู้สึกมีความเชื่อ ความศรัทธาอยู่ในงาน แม้ว่าจะสร้างสรรค์ผลงานอะไรก็ตามแต่จะมีอัตลักษณ์แบบนี้ตลอด ก็คือ จะมีแสงในงานที่จะดูมิสทิค ดูลึกลับ ดูแพร่กระจาย ฟุ้งฟิ้ง แล้วก็มีอารมณ์แบบขลัง อยู่ภายในผลงานของอาจารย์มาตลอดเวลา