อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ
เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2506 เชียงใหม่ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนไชยโรจน์วิทยา และจบชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้ไปศึกษาต่อ ที่สถาบันเทคโนโลยีและอาชีวะวิทยาเขตเทคนิค ภาค พายัพ เชียงใหม่ ตอนกำลังศึกษาชั้น ปวช ปี3 อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้ตัดสินใจ เดินทางเข้ามา กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าสอบที่ วิทยาลัยเพาะช่าง และ ที่ ม. ศิลปกร หลังจากประกาศผลการสอบออก อาจารย์ สุรสิทธิ์ เสาว์คง ได้แนะนำให้ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัย ศิลปกร และได้มีรุ่นพี่ อย่าง อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้ไปบรรยาย ที่สถาบันเดิมก่อนที่เข้า มหาวิทยาลัย ศิลปกร

อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้เห็น และ ศรัทธา อยากจะเป็นศิลปินเหมือนกับท่าน และได้มี อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ กับ อาจารย์ ปัญญา วิจินธนสาร เป็นต้นแบบ และทำให้อยากศึกษา ด้านศิลปะไทย พอได้เริ่มศึกษาที่ ม.ศิลปกร อาจารย์ สุรสิทธิ์ เสาว์คง ได้ฝากฝัง ให้ อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ดูแล และคอยให้คำปรึกษา จน อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ มีความตั้งใจเรียนอย่างมากเพื่อที่จะเป็นศิลปิน และช่วงนั้นได้ฝึกฝีมือในการวาดภาพ ตอนที่กำลังศึกษาชั้นปีที่2 อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้นำภาพวาดไปขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้ชักชวนให้เดินทางไปเป็นหนึ่งในศิลปินไทยที่จะไปสร้างสรรค์ผลงานจิตกรรมฝาผนัง ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน อังกฤษ ซึ่งในขณะนั้น อ.ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ กำลังศึกษาชั้นปี2 จึงได้ไปปรึกษา อาจารย์ที่คณะ และได้รับคำแนะนำว่าสมควรให้จบชั้นปีที่3 เพื่อที่จะได้รับอนุปริญญา เผื่อในอนาคต และ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐจึงได้ แจ้งเหตุผลกับ อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่ไม่สามารถเดินทางไปในขณะนั้นได้ กับ อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และหลังจบชั้นการศึกษาชั้นปีที่ 3 อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้เดินทางไปเป็นหนึ่งในศิลปินไทยที่ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตกรรมฝาผนัง ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน อังกฤษ ในช่วงที่อยู่ประเทศ อังกฤษ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้มีการพัฒนาฝีมือ อย่างมาก

หลังจากกลับมาจากประเทศอังกฤษ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้เดินทางกลับไปหาแรงบันดาลใจ ที่บ้านจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อที่จะไปดูอะไรต่างๆที่เราซึมซับ มาตั้งแต่เด็กๆ พอได้เดินทางกับไปหาแรงบันดาลใจ ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วง พ.ศ. 2530 ผลงาน อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งโดยลักษณะผลงานในช่วงนั้น นำลวดลายศิลปะโบราณมาผสมกับรูปแบบการแสดงออกและกลวิธีของศิลปะสมัยใหม่ โดยกลันกรองเอาเฉพาะ แก่นสารที่เป็นสากลร่วมกันผ่านทาง การแสดง รูปลักษณ์ของพลังความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ ผ่านเส้นและรูปทรงที่สำแดงการเคลื่อนไหวในลักษณะนามธรรม ผสมกับลวดลายและร่องรอยพื้นผิวที่หมุนวนพลิ้วไหวไปในลีลาที่สอดคล้องเล่นล้อกัน ภายใต้มวลน้ำหนักทึบแน่นทึมเทาแวดล้อม การเคลื่อนไหวปรากฏเป็นริ้วรอยสีขาวบริเวณกลางภาพ หมุนวนไปพร้อมกับลวดลายและสีทองซึ่งให้ความรู้สึกถึงคุณค่าตามสัญลักษณ์ของอุดมคติที่ดีงามในวัฒนธรรมดั้งเดิม
อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและได้รับรางวัลทางศิลปะหลากหลายเวที อาทิ รางวัลศิลปกรรมยอดเยี่ยม การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ประจำปี พ.ศ 2533

รางวัลที่ 1 เหรียญทองจิตรกรรมบัวหลวง จิตรกรรมแนวไทยประเพณี นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 14 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง สาขาจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 37 เป็นต้น

โดยผลงานในช่วงแรกของ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ จะเป็นการแสวงหาวิธีการแสดงออกของศิลปะประเพณีในรูปแบบใหม่ๆ โดย อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ให้สนใจเรื่องของมวลของรูปทรงที่มีน้ำหนักทึบแน่น ประดับลวดลายประดิษฐ์ที่ดัดแปลงมาจากศิลปะประเพณี ซึ่งแสดงอาการเกี่ยวร้อยบีบรัดเข้าด้วยกัน เพื่อขับสัญลักษณ์ที่บอกถึงความดีงามหรือความจริงสูงสุดในภาพนั้นให้โดดเด่น

หลังจากนั้น อ.ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ก็จะขยายความอัดแน่นทางองค์ประกอบศิลป์ และแสดงอาการเคลื่อนไหวภายใต้ความทึบตัน เช่นนั้น เช่นภาพครุฑจับนาคในจินตนาการใหม่ ซึ่งครุฑแสดงอาการดิ้นรนต่อสู้อยู่ในการร้อยรัดพัวพันของนาคที่ขดแน่น และเมื่อ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ตัดทอนรูปทรงเหลือเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงออกในลักษณะนามธรรม ความรู้สึกภายในก็สามารถถ่ายทอดผ่านทัศนธาตุที่เลือกสรรแล้วอย่างทรงพลัง

อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้จับเอาเฉพาะลีลาและลวดลายมาแทนปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แล้วนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรม เพื่อสื่อถึงสภาวะของการเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยน เช่น ร่องรอยของเถ้าธุลีในลีลาที่คล้ายการเผาไหม้ของเปลวเพลิงสีทอง หรือพลังความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติซึ่งมีลีลาเคลื่อนไหวเหมือนสายน้ำหมุนวน กระทั่งพลังจักรวาลที่ละม้ายการเคลื่อนไหวของกลุ่มดาวฤกษ์ในเอกภพ หรือแทนความหมายของนักษัตร บริวารทางดาราศาสตร์โบราณ

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 อาจารย์ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้กลับมาเขียนภาพผลงานที่แสดงรูปลักษณ์เรื่องราวอีกครั้ง ซึ่งไม่ได้เป็นภาพนามธรรมเหมือนเดิม รวมทั้งเพิ่มเติมสีสันเข้าไปในผลงาน ขึ้นบ้าง อาทิ ผลงานงานชุด “มหาวิเนษกรมณ์” หรือการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ อาจารย์ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนั้น ให้ดู ลวงตา ด้วยมวลตื้นลึกเสมือนเป็นประติมากรรม ประกอบกับเครื่องตกแต่งที่ร้อยรัดซึ่งมีมวลแน่นหนักเช่นกัน ภายใต้บรรยากาศเหนือจริงผสม ทั้งจิตรกรรมสองมิติและสามมิติ เสมือนเป็นกิเลสที่หนักหนารกรุงรังยากจะตัดขาด

งานแสดงส่วนใหญ่ของ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ มีทั้งประติมากรรมและจิตรกรรม โดดเด่น ด้วย
สรีระ ของคน สัตว์ และลวดลายตกแต่ง ซึ่งผสมกันอย่างสมจริง นอกจากนั้นแล้วผลงานของอาจารย์จะจัดแสดงเฉพาะในมิวเซียมใหญ่ๆ เท่านั้น เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA bangkok

นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ก็ได้กำลังสร้างหอศิลป์ของตัวเอง ชื่อ ปัจจุบันอาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้สร้างหอศิลป์ที่รวบรวมผลงาน ที่สร้างสรรค์โดยอาจารย์ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ชื่อว่า หอศิลป์ เทา ซึ่ง อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้รับแรงบันดาลใจจาก บ้านดำของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี และวัดรองขุน สีขาวของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

อ.ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ จึงเลือกเป็นสีเทาคือระหว่างกลางของ ศิลปินที่ อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ เคารพ และคำว่า สินเทา ยังมีความหมายใน งานจิตรกรรมไทยที่เป็นเส้นแบ่งภาคแบ่งช่วงเวลาใน งานจิตรกรรมไทย ดังนั้นหากหอศิลป์ เทาเสร็จสินก็จะเป็นอีกสถานที่สำคัญที่จะมีผลงานสุดล้ำค่าของอาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ จัดแสดงให้ผู้ที่ชื่นชอบผลงาน อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ได้แวะเวียนมาชม ณ บ้านน้ำโจ้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ อีกทั้ง อาจารย์ ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ยังได้บูรณปฏิสังขรณ์ ทํานุบํารุง ศาสนา สร้างสรรค์ผลงานทางพุทธศิลป์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ณ วัดน้ำโจ้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่