อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์

เกิดวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จบประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนโรงเรียนลาซาลโชติรวี และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นด้วยความสนใจทางด้านศิลปะ อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ จึงได้ศึกษาต่อที่วิทยาลัย ช่าง ศิลป์ กรมศิลปากร อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก โดยมีพี่ชายเป็นแรงบันดาลใจ ที่สอนให้ อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ เขียนรูป ทำให้รักในการทำงานศิลปะ และแม่สอนให้ อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ รู้จักเสรีภาพ

เมื่ออาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ได้เข้าสู่วิทยาลัย ช่าง ศิลป์ ในปี พ.ศ.2518 อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ทุ่มเทและฝึกฝน ศิลปะอย่างเต็มที่ แต่เพียง 3 – 4 เดือน อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ กับมีความรู้สึกว่าการเรียนในห้องเรียนไม่ได้ช่วยให้พัฒนาฝีมือมากขึ้นดังนั้น อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ได้ออกจากช่างศิลป์ เดินทางกลับบ้าน แล้วบอกแม่ว่าไม่เรียนแล้ว ขออยู่วาดรูปและอ่านหนังสือที่บ้าน แม่ก็ตามใจ อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ขอเงินแม่ ไปซื้ออุปกรณ์และออกตระเวนวาดรูปทุกวันตามที่ต่างๆ เช่น วาดคนใช้แรงงาน ชาวนาชาวไร่ ในจังหวัดนครสวรรค์

โดยได้แรงบันดาลใจจากหนังสือไฟศิลป์ ที่เล่าเรื่องราวชีวิตของจิตกรเอก ( Vincent Van gogh ) ผู้เป็นศิลปินที่ อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ชื่นชอบและศรัทธา และต่อมาพี่สาวซึ่งเป็นครูก็มาชวนให้ไปเป็นครูช่วยสอน ที่ทุ่งทอง คลองขลุง จังหวัด กําแพงเพชร ที่นั้น อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ได้วาดรูป สอนเด็กๆและได้เห็นชีวิตความทุกยากของชาวบ้านแต่ไม่นานก็ถูกชาวบ้านต่อต้านมองว่าอาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นพวกวิกลจริต สติฟั่นเฟือน ที่วันๆเอาแต่เขียนรูปและสอนความคิดบ้าให้กับเด็กๆ แต่อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ก็อยากจะเป็นครูจริงๆ จึงกลับไปขอใบรับรองการศึกษาที่วิทยาลัย ช่าง ศิลป์ เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพครู และได้พบกับอาจารย์ สวัสดิ์ ตันติสุข ท่านได้แนะนำว่าควรกลับมาเรียนต่อ เพราะฝีมือดี จึงทำให้ อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ตัดสินใจกลับมาเรียนต่อในปี พ.ศ.2519
ซึ่งในขณะนั้น อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ เชื่อว่าชีวิตคือความทุก จึงสนใจการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์

ขณะที่ขบวนการนิศิษย์นักศึกษาหลัง 14 ตุลา ได้มีการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้น แต่อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ สนใจแต่การนั่งสมาธิ และ กินมังสวิรัติ จนกระทั่ง อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ได้เห็นภาพเหตุการณ์ลอมปราบนักศึกษาด้วยความรุนแรงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และเข้าใจว่า อำนาจที่ชั่วร้ายทำให้สังคมเกิดความทุกข์ยาก อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ จึงเริ่มศึกษาแนวทางสังคมนิยม และทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนในช่างศิลป์ จนนำไปสู่พัฒนาการทางความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแนว วิพากษ์วิจารณ์สังคมที่โดดเด่นในวงการศิลปะร่วมสมัย อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ได้ทำงานศิลปะทดลองแนวต่างๆ เช่น ศิลปะแสดงสด วีดีโอ ละคร บทกวี ดนตรี เพื่อแสดงออกทางความคิด ความเชื่อ ในเรื่องการเมือง ชีวิต สังคม และร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้อนุรักษ์ เรียกร้องเพื่อธรรมชาติ ประชาธิปไตย และความยุติธรรมมาจนถึงวันนี้

อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ได้บันทึกสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งชีวิตผู้คนที่เกิดความทุกข์ยาก ความรัก ความรู้สึกทางเพศ และความรู้สึกส่วนตัวซึ่งทั้งหมดล้วนสะท้อนแนวคิดความเป็นตัวตนของอาจารย์วสันต์ สิทธิเขตต์ และสิ่งที่อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ได้ต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้สังคมได้เกิดเปลี่ยนแปลงมาอย่างยาวนาน

แนวความคิดและรูปแบบศิลปะเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของอาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์มีการนําเสนอที่หลากหลาย แม้ว่าอาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์จะมุ่งความสนใจในปัญหาด้านการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย และมีรูปแบบจิตรกรรมเป็น หลัก แต่ทําให้แนวความคิดและรูปแบบในการนําเสนอมีความแตกต่างจากศิลปินนักเคลื่อนไหวตะวันตก ซึ่งมักจะ นําเสนอแนวความคิดหรือประเด็นปัญหาทางสังคมเฉพาะในลักษณะความเท่าเทียมกันในสังคมเป็นหลักในการ สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง โดยนําเสนอในรูปโครงการและกิจกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนศิลปินตะวันตกมักใช้สื่อ โฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการสําเร็จรูปเป็นยุทธศาสตร์สําคัญ ซึ่งเน้นการนําเสนอด้วยข้อความในลักษณะ กระตุ้นหรือให้สาธารณชนฉุกคิดกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม แตกต่างจากอาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์มั่นคงในการนําเสนอปัญหา สําคัญต่ออนาคตของประเทศ และใช้วิธีการสร้างสรรค์ด้วยทักษะฝีมือในแนวทางศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบจิตรกรรมและภาพพิมพ์ที่เน้นการนําเสนอด้วยภาพในแบบอย่างล้อเลียนเย้ยหยัน

อาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ นอกจากจะเป็นจิตกรที่มีฝีมือในทางด้านจิตกรรม แล้ว ยังได้สร้างสรรค์ผลศิลปะในแขนงต่างๆ เช่น การแสดงสด วีดีโอ ละคร บทกวี ดนตรี ถือได้ว่าอาจารย์ วสันต์ สิทธิเขตต์ ถือเป็นต้นแบบของศิลปิน ในวงการศิลปะ