อาจารย์ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล

เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่ จังหวัด สิงห์บุรี

จบระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดพรหมสาคร และได้ศึกษาต่อมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสิงห์บุรีโรงเรียนสิงห์บุรี เป็นครูต้นแบบ เข้ามาเรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์สามปี และเข้าเรียนที่คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2524

เมื่อเข้า มหาวิทยาลัยศิลปกร อาจารย์เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ได้มีโอกาสไปทำงานกับ อาจารย์ปรีชา เถาทอง และอาจารย์ประหยัด พงษ์ดำ

และในปี พ.ศ.2528 อาจารย์เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ได้รับรางวัลเหรียญทองจิตรกรรมบัวหลวง ชื่อผลงาน ชุด มาร ที่ทำให้เริ่มมีชื่อเสียง ขณะที่กำลังเรียนอยู่ปีที่สี่ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงอีกสองครั้งในปีถัดมา รางวัลชนะเลิศศิลปกรรมร่วมสมัย

หลังจากจบการศึกษาที่ม.ศิลปากร ในปีพ.ศ.2529 อาจารย์ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ได้ร่วมเดินทางไปเป็นหนึ่งในศิลปินไทยที่ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตกรรมฝาผนัง ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน อังกฤษ โดยมี อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสารชักชวนและให้การสนับสนุน

หลังกลับมา อาจารย์ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุลเขาพับเก็บรางวัลทางด้านศิลปะอย่าง เหรียญทอง จิตรกรรมบัวหลวง ตลอดจนประสบการณ์เขียนภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไว้เบื้องหลัง ทั้งที่มีมันสามารถการันตีฝีมือและส่งเสริมให้เขาเติบโตได้ในบรรยากาศของบ้านเกิด เพื่อไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ที่เมืองลอดช่อง หลังจากไปตกหลุมรักนักศึกษาศิลปะ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) เมื่อครั้งถูกรับเลือกให้ไปเข้าค่ายศิลปะเยาวชนอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์

ในช่วงเริ่มต้น ชีวิตศิลปินไทยในสิงคโปร์ ของอาจารย์เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล ดำรงอยู่ได้ด้วยการทำงานศิลปะทุกอย่างเพื่อที่จะมีรายได้ โดยเฉพาะการเขียนภาพม้า โดยลักษณะม้าที่สำคัญของอาจารย์ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุลจะเป็นการผสมผสานงานศิลปะไทยที่มีลวดลายต่างๆลงบนตัวม้า และด้วยท่วงท่าที่ดูองอาจ ทรงพลังจึงทำให้ผลงานนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของอาจารย์ เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล

จนเมื่อได้ส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีประกวดศิลปะระดับเอเชีย และ ผลงานที่มีชื่อว่า mymind ได้รับรางวัล ในงาน OSAKA TRIENNALE OF PAINTING , JAPAN และคัดเลือกร่วมแสดงในปีถัดมาอีกสามครั้ง จึงเริ่มมีนักธุรกิจสิงคโปร์และอินโดนีเชีย (LOH TOCK KONG และ ISKANDAR) ก้าวเข้ามาสนับสนุนให้ทำงาน จึงทำให้ผลงานศิลปะของเขาเดินทางไปอยู่ทั่วโลก เนื่องจากถูกนักธุรกิจเหล่านั้นใช้เป็นของที่ระลึกมอบให้แก่กันในยามเจรจาธุรกิจ ขณะที่แวดวงศิลปะเองก็เริ่มหันมาจับตามองผลงานของเขามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาพเขียนม้าที่เขาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวเอง ตลอดภาพนางรำ นางละคร ของอินโดนีเชีย และไทย

20 กว่าปีผ่านไป เวลานี้ อาจารย์เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล สามารถใช้ชีวิตได้อย่างที่ศิลปินหลายคนปรารถนา นั่นคือ เลือกที่จะทำงานหรือใช้ชีวิตเดินทางไปไหนมาไหนก็ได้ตามใจอยาก

แต่กว่าที่ชีวิตศิลปินของเขาจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ วันที่ ผลงานของเขาถูกซื้อไปติดบนผนังของบ้านเศรษฐีและอยู่ในมือของนักสะสมศิลปะหลายราย ทั้งในไทย และต่างประเทศ ได้แก่ คุณ ศุภโชค อังคสุวรรณศิริ ผู้บริหาร ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ ,คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA BANGKOK) ,คุณกมลา สุโกศล ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม โรงแรมเดอะสุโกศลเป็นต้น อีกทั้งถูกนำขึ้นประมูลใน งานประมูลศิลปะครั้งสำคัญ

มันไม่ใช่เพราะว่าเขาได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทางด้านศิลปะหรือรัฐบาลของประเทศที่เขาไปลงหลักสร้างครอบครัวที่นั่น แต่เป็นเพราะบรรยากาศภายในครอบครัวที่ส่งเสริมให้ทำงานศิลปะได้ เนื่องจากเขามีพ่อตา(CHOO KENG KWANG)เป็นศิลปินใหญ่และมีภรรยา(CHOO AI LOON ANGELINE)เป็นคนทำงานศิลปะเช่นกัน

ในฐานะที่ถูกแวดวงศิลปะในสิงคโปร์ยกให้เป็น ศิลปินสิงคโปร์คนหนึ่งเช่นกัน และบ่อยครั้งที่ถูกเสนอชื่อให้ได้รับรางวัล Merlion Awards สาขาศิลปะ ซึ่งเทียบเท่า ศิลปินแห่งชาติ ของบ้านเรา และยัง ชนะงานส่งประกวดเกือบ 30,000 ทั่วโลก