นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย บางกอกหลอกชั้น
วันที่ : 04 เมษายน – 22 เมษายน 2561
สถานที่: ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 ณ BACC
นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย บางกอกหลอกชั้น (Bangkok Layers) ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Topography of Mirror Cities บริหารและดำเนินโครงการฯโดย Sandy Hsiu-chih Lo ภัณฑารักษ์กลาง (Chief Curator) ได้รับทุนสนับสนุนจาก National Culture and Arts Foundation กระทรวงวัฒนธรรม รัฐบาลไต้หวัน โดยเธอได้เชื้อเชิญภัณฑารักษ์จาก 6 ประเทศร่วมนาเสนอภาพสะท้อนของสถานที่ในแต่ละเมืองสาคัญ ให้กลายเป็นพื้นที่ของการศึกษา ผ่านสนามทางทัศนศิลป์และรูปแบบนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ภัณฑารักษ์ทั้ง 6 ท่านได้แก่
- Lian Heng Yoeh ประเทศมาเลเชีย นาเสนอโครงการ History-Community-Identity ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
- Vuth Lyno, Pen Sereypagna ประเทศกัมพูชา นาเสนอโครงการ Geo-body ที่กรุงพนมเปญ
- Ade Darmawan ประเทศอินโดนีเชีย นาเสนอโครงการ Mass Rapid Mobility ที่กรุงจาการ์ตา
- Jiandyin (จิระเดชและพรพิไล มีมาลัย) ประเทศไทย นาเสนอโครงการ บางกอกหลอกชั้น (Bangkok Layers) ที่กรุงเทพฯ
- Mahbubur Rahman ประเทศบังกลาเทศ นาเสนอโครงการ City of the Book ที่กรุงธากา
- Manray Hsu สาธารณรัฐไต้หวัน นาเสนอโครงการ Herbal Urbanism ที่กรุงไทเป
นิทรรศการฯ ครั้งนี้มุ่งพิจารณาและตีความข้ามกรอบความรู้ทางปรากฏการณ์วิทยาด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวโยงกับกาล-เทศะและประวัติศาสตร์กระแสหลัก ซึ่งมีความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างอดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์อนาคต ผ่านการปฏิบัติและสนามทางศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบของการศึกษาค้นคว้า เพื่อสะท้อนแนวทางการสร้างกรอบความรู้ใหม่ขึ้นมาแทนที่กรอบความรู้เดิม ด้วยการสร้างบทสนทนาในนิทรรศการฯผ่านการตั้งคาถามตามหรือคาถามแย้ง ที่ท้าทายความคาดหวังทั้งจากผู้ชมและศิลปิน/ผู้เชี่ยวชาญที่สร้างผลงาน นาเสนอทัศนะและทัศนียภาพองค์รวมที่มีความหลากหลายในรูปแบบและวิธีวิทยาตามประเด็นที่กาหนด เพื่อสร้างประสบการณ์การรับรู้ การส่องสว่างและเปิดช่องที่ซ้อนทับกันหลายเชิงชั้นของความหมายในกรอบความรู้กระแสหลัก และเป้าหมายในการแสวงหาโครงสร้างความคิดในระดับจุลภาคของสังคม ด้วยการสร้างนิยามใหม่ในพื้นที่ทางทัศนศิลป์เชิงสหวิทยาการประสานเข้ากับศาสตร์ความรู้อื่นๆ ในฐานะของงานสร้างสรรค์1 และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ยังผลให้เกิดการตีความทางสังคม2 อันเป็นกรอบความรู้ที่เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงแปรรูปไปตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ซึ่งมีพัฒนาการแบบไม่ต่อเนื่องต่างจากสายโซ่ที่ร้อยต่อเชื่อมกันโดยไม่ขาดห้วง ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ในปรากฏการณ์จึงมีคุณค่าอย่างมากสาหรับการศึกษา โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของแรงกระทาซึ่งทาให้เกิดความเข้าใจตรรกะที่ดารงอยู่ในปรากฏการณ์นั้นได้โดยตรง3 การสนับสนุนและสร้างความเข้าใจที่เปิดกว้างนั้นสามารถเพิ่มศักยภาพต่อการตีความ ซึ่งบ่อยครั้งเปิดโอกาสให้ศิลปิน/ผู้เชี่ยวชาญและผู้ชมมีส่วนร่วมกันสร้างแบบแผนการบรรเทาความคลาดเคลื่อน ที่มักเกิดขึ้นในแวดวงการศึกษาด้านสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาแบบโครงสร้างนิยม ซึ่งยึดถือกรอบความรู้ที่แข็งขืนลดทอนและปฏิเสธความเป็นอื่น