หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครชวนคุณมาร่วมสำรวจความเป็นอีสานในยุคปัจจุบันผ่านนิทรรศการชุดใหม่ในชื่อ โครงการรายงานอีสานร่วมสมัยโครงการรายงานอีสานร่วมสมัย (Isan Contemporary Report)เป็นหนึ่งในโครงการที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร   สืบเนื่องจากวิสัยทัศน์ของการเป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่มุ่งเสริมองค์ความรู้อันหลากหลายเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อสังคมมุ่งหวังในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงบริบทของโลกตลอดจนสนับสนุนกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดภูมิปัญญาใหม่และแรงบันดาลใจทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาสังคมไปสู่ดุลยภาพ       ทั้งนี้ โครงการรายงานอีสานร่วมสมัยเกิดขึ้นจากคำถามตั้งต้นที่ว่า อีสานร่วมสมัยเป็นอย่างไร?จนนำไปสู่การค้นคว้าวิจัยและนำเสนอผลจากการสำรวจปรากฏการณ์ต่าง ๆเพื่อสะท้อนภาพการเติบโตและการกำหนดชีวิตตนเองของพลเมืองอีสานจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกโดยมุ่งหวังให้โครงการนี้เป็นการเปิดพื้นที่สู่การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจต่อประเด็นและแนวคิดสำคัญทางท้องถิ่นภิวัตน์ที่เกี่ยวข้องกับอีสานในแง่มุมของผู้คนและพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและจินตภาพ

ศิลปิน: โชคชัย ตักโพธิ์, ถาวร ความสวัสดิ์, ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บุญนำ สาสุด, ไพศาล อำพิมพ์ ร่วมกับ ธิติญา เหล่าอัน,ภัทรพงศ์ ศรีปัญญา, ไมตรี ศิริบูรณ์, เริงฤทธิ์ คงเมือง, วรวิทย์ แก้วศรีนวม, สมภพ บุตราช, อดิศักดิ์ ภูผา, และกลุ่มRealframe

โดย อ.สมภพ  บุตราช  1 ในศิลปินได้กล่าวถึงนิทรรศการ  “อีสานสามัญ”ว่าเป็นงานร่วมสมัยศิลปินอีสานสร้างขึ้นมาในแนวสมัยใหม่มีทั้งหลายเทคนิค ส่วนอาจารย์กล่าวว่าได้งานชุดดินเขียนภาพเหมือนของบุคคลต่างๆของคนอีสานมาร่วมด้วย ตั้งแต่งานชุดแรกๆจนถึงปัจจุบันช่วงแรกที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นภาพเหมือนของคนอีสาน เป็นชุดที่เคยจัดแสดงที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นครั้งแรก   ครั้งนั้นจะเป็นการทำงานเพื่อเล่าเรื่องของอีสานผ่านใบหน้าของบุคคลลต่างๆที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วๆไป บุคคลสำคัญเป็นพระเป็นเจ้า เป็นหมอลำ คือเล่าเรื่องของคนอีสานผ่านใบหน้าต่างๆ โดยที่เราไม่ต้องไปพูดเยอะแล้วก็เอาใบหน้ามาเขียนหน้าทุกคนรู้จักแต่เทคนิคมันจะแปลกและพิเศษตรงที่ว่าเอาดินเขียนไซต์ขนาดที่ใหญ่ให้ดินแสดงคุณสมบัติของเค้าว่าเวลาเขียนจะมีร่องรอยจะมีเทคเจอร์ที่มันหยาบกระด้างเวลามันแตกมามันได้ความรู้สึกที่ดีเมื่อคิดถึงอีสานความรู้สึกผมที่เอาดินมาเขียน  อีสานค่อนข้างเป็นธรรมชาติที่ดิบๆแล้วสีก็ไม่มีการปรุงแต่งเอามาใช้ผสมกันระหว่างใบหน้าอีสานกับเทคนิคดินมันให้ความรู้สึกที่ดีต่อผม

เช่นภาพลุงสาดเป็นภาพแรกที่อาจารย์สมภพเริ่มทำงานดินขึ้นมาเป็นงานที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอีสานที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงคือในช่วงนั้นเป็นยุคของ “โลกาภิวัตน์”คือบ้านเราจะพัฒนาตัวเองเป็นอุตสาหกรรมแล้วมันก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วมากของสังคมโดยเฉพาะของวัฒนธรรมอีสานที่เราปรับตัวไม่ทัน

โดนนิทรรศการเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 26 มกราคม – 25 มีนาคม 2561 จัดแสดง ณ นิทรรศการหลัก ชั้น 9 หศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร