กรุงเอย…กรุงศรีอยุธยา….
ทัศนาปูชนียสถาน….
อิฐเก่าเก่าเหล่านี้มีตำนาน
วาดวิมานบนดินถิ่นราชัน…
สิ้นเสียงขับขานบทเพลงอันไพเราะ “อิฐเก่าเล่าตำนาน” เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ได้มีพิธีเปิดนิทรรศการ “ อยุธยา อัญมณีแห่งอารยธรรม” โดยมี ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด ณ 333 Gallery@River City Bangkok โดยมีศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ ๒ ท่านแสดงงาน ได้แก่ อ.นิวัติ ชนุหะชา และ อ.สมยศ คำแสง ซึ่งวันเปิดนิทรรศการเต็มไปด้วยภาพบรรยากาศแห่งความน่าประทับใจ
โดย อ.นิวัติ ชนุหะชา ได้กล่าวถึงแนวทางการสร้างงานศิลปะชุดนี้ของอาจารย์ว่า “ศิลปะแนวทางนี้ถือเป็นแนวทางร่วมสมัย แต่ว่าเราใช้ความรู้สึกที่เกี่ยวกับอยุธยามรดกโลกซึ่งเป็นมรดกจริงๆของอารยธรรมอยุธยาซึ่งบรรพบุรุษของไทยเราได้ให้มรดกอันสำคัญนี้ไว้ให้ลูกหลาน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานก็คืออดีต เรารำลึกถึงแต่สิ่งนึงที่สำคัญที่สุดสำหรับการศึกษาศิลปะ คือศึกษาเพื่อเดินทางไปสู่อนาคต ศิลปินมีหน้าที่ในการดูแลอารยธรรมของชาติ นั่นเป็นเหตุผลเดียวที่การสร้างานศิลปะต้องมีแนวคิดมีทัศนคติที่ดีต่อวัฒนธรรมศิลปะแล้วก็การศึกษาในทางจารีตประเพณีแต่เดิมมาสิ่งนึงคือ เราต้องสร้างงานที่มีแนวทางใหม่ๆ
ศิลปะต้นแบบของครูบาร์อาจารย์ก็เป็นศิลปะต้นแบบ แนวทางของศิลปกรรมรุ่นใหม่เป็นเสรีภาพที่ศิลปินมีสิทธิ์ที่จะคิดและทำในแนวทางใหม่ได้ ซึ่งมันเหมือนการค้นคว้าสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในวงการศิลปะ ท้ายที่สุดเกือบทุกอย่างที่เราสร้างก็ต้องกลับเข้าไปสู่หัวใจของผู้คนมันเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมในทางด้านจิตใจ เป็นข้อผูกพันธ์ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับการที่จะต้องดูแลและรักษาด้วยและสร้างสิ่งใหม่ๆคู่กันไปไม่ใช่เรามัวแต่มามองด้านอนุรักษ์แล้วเราก็ไม่สร้างสิ่งใหม่ๆจากอารยธรรมดั้งเดิม สิ่งนี้ก็เป็นแนวทางนึงที่จะทำให้นักศึกษาศิลปะในปัจจุบันมองทัศนการสร้างงานศิลปะเป็นแบบแผนใหม่ขึ้นมาอาจารย์จึงเห็นว่าทุกคนมีเสรีภาพในทางความคิด แล้วศิลปะก็เป็นสิ่งนึงที่ให้เสรีภาพในการทำงานอย่างมีระบบ มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องถ่ายทอดความคิดนี้ให้กับเด็กรุ่นปัจจุบัน เสรีภาพเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำงานด้านศิลปะซึ่งนั่นหมายถึงว่าการศึกษาแนวทางใหม่ๆเป็นสิ่งนึงที่มีความจำเป็น”
รวมถึง อ.สมยศ คำแสง ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิอีก ๑ ท่านที่มีฝีมือการปาดเกรยองที่เฉียบคมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครได้กล่าวถึงนิทรรศการ “อยุธยา อัญมณีแห่งอารยธรรม”ว่า ได้ไปศึกษาตามรอยอาจารย์เฟื้อว่าแก่นธรรมของศิลปะอยุธยาว่าเป็นยังไงไปศึกษาศิลปวัตถุที่อยู่ในอยุธยา
และได้กล่าวถึงผลงานภาพล่าสุดที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อนว่า หลังจากไปStudyที่อยุธยาความเป็นอยุธยาจริงๆก็คือรูปแบบทางศิลปะ ผมไปศึกษาตู้พระธรรมที่วัดเชิงหวายสังเกตว่ากิเลนจะเป็นสกุลช่างวัดเชิงหวายอยุธยาตอนปลายที่ทรงพลังที่สุด ได้ศึกษาโครงสร้างลวดลายที่เป็นลักษณะของอยุธยาเอามาสร้างจัดองค์ประกอบใหม่
ส่วนภาพที่พิเศษที่สุดก็คือภาพที่เป็นการไปเวิคชอปชิ้นนี้เป็นจุดสตาร์ทที่สำคัญเป็นงานที่ไปเวิคชอบพุทธศิลป์โลกที่อินเดียจุดนั้นปี 2554 เป็นภาพที่เป็นประวัติศาสตร์ที่ยืนยันว่าผมได้เริ่มต้นศึกษาพุทธศิลป์อย่างจริงจังเราได้แรงบันดาลใจจากประเทศอินเดีย
การทำงานศิลปะเปลี่ยนแปลงตลอดมันไม่คงที่ เราคิดเราอ่านเราทดลองเราศึกษาอะไรวันนี้ มันไม่ได้อยู่กับที่มันก็เปลี่ยนแปลงตลอด โลกเรามันไม่หยุดนิ่ง ผมถือว่าตัวเองยังไม่สำเร็จยังต้องเรียนรู้ พรุ่งนี้ผมก็ต้องอ่านหนังสือ ต้องทดลองต้องทำใหม่ ต้องค้นคว้าให้มันลึกซึ้งขึ้นไปอีกให้มันอยู่กับชีวิตอย่างเข้าถึงมากกว่า อยากให้คนทั้งหลายเข้ามาดูว่าศิลปะที่อยู่กับชีวิตจริงๆ สะท้อนออกจากความคิดวิถีชีวิตจริงๆ ที่ผมสร้างสรรค์ออกมามันเป็นยังไง เมื่อหลายๆคนมาดูจะได้ใช้ศิลปะขัดเกลา กล่อมเกลาจิตใจหรือทำให้เราละเอียดลึกซึ้งขึ้นในหลายๆอย่าง ผมอยากใช้ศิลปะเป็นกุญแจเป็นประตูที่นำเข้าไปสู่ความลึกซึ้งของชีวิตได้
สำหรับผู้ทำสนใจมาชมนิทรรศการ “อยุธยา อัญมณีแห่งอารยธรรม”ยังเปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ชั้น 3 ณ 333 Gallery@River City Bangkok