นิทรรศการจิตรกรรม “กาลเวลา”

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านร่วมเป็นเกียรติ
ในโอกาสที่ คุณ เยาวณี นิรันดร (country Representative/christie’s Thailand)
ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการจิตรกรรม : “กาลเวลา” ของ อาจารย์ จักรกฤษณ์ การะเกต

วันพฤหัสบดีที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖o
เวลา ๑๘.oo น. ณ ห้องศิลปนิทรรศมารศี

นิทรรศการเปิดแสดงถึงวันอังคารที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ๐๘๑ ๖๖๐ ๕๒๒๒

เนื้อหาและลักษณะผลงาน

กาลเวลาเป็นกาลผ่านเวลาของการเดินทาง การได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ เห็นธรรมชาติ เรียนรู้ธรรมชาติ จนได้สร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมโดยใช้เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบผ่านกาลเวลาของศิลปะและชีวิตจริง

ประวัติศิลปิน และ การแสดงผลงาน

ศิลปิน : อาจารย์ จักรกฤษณ์ การะเกต
วันเกิด : 27 มีนาคม พ.ศ.2521
ที่อยู่ : 36 บ้านถนนหัก ถนนโชคชัย-เดชอุดม อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
เบอร์โทร : 081-660-5222
อีเมล์ : pa_jakkrit@hotmail.com

การศึกษา

– ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชา ทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
– ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ

ประวัติการแสดงผลงานนิทรรศการเดี่ยว

2543 : นิทรรศการศิลปกรรมชุดธรรมชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์และหอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

2545 : นิทรรศการศิลปกรรมบันทึกสีขาว ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

2546 : นิทรรศการจิตรกรรมแผ่นดินทอง ณ เบลวิลล่ารีสอร์ท อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

2547 : นิทรรศการศิลปกรรม ความรัก ต้นไม้ ดอกหญ้า ท้องฟ้า เห็ด ณ อมารีวอเต้อเกทอาร์ต แกลอรี่ กรุงเทพฯ

2548 : นิทรรศการจิตรกรรมแกะดำตัวน้อยรอคอยความรัก ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

2548 : นิทรรศการจิตรกรรมกับการเดินทางที่หายไป ณ โรงแรม อมารี ออเตอร์เกท กรุงเทพฯ

2551 : คิดถึงดงใหญ่ ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

2553 : นิทรรศการจิตรกรรม เขารักเขาใหญ่ ณ อาเธอรี่ แกลลอรี่ กรุงเทพฯ

2555 : นิทรรศการจิตรกรรมต้นรักสีขาวในวันที่เฟื่องฟ้าลัลลา ณ หอศิลป์ จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

2558 : นิทรรศการจิตรกรรม เป็น อยู่ คือ ณ พิพิธภัณฑ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ

2559 : นิทรรศการจิตรกรรม ต้นไม้เป็นสีขาว ดอกไม้เป็นสีชมพู ณ พิพิธภัณฑ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ