เขียน ยิ้มศิริ

เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม 2465 ที่ธนบุรี ภายหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอัมรินทร์โฆษิต ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ปี 2493 ได้รับทุนกระทรวงศึกษาธิการ ไปศึกษาวิชาประติมากรรมที่ Chelsca School of Art ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ภายใต้การดูแลและแนะนำของ Henry Moore เป็นเวลา 1 ปี ต่อมาปี 2496 ได้รับทุนจากรัฐบาลอิตาลีไปศึกษาประติมากรรมและประวัติศาสตร์ศิลป์ ณ สถาบันศิลปะแห่งกรุงโรม
ปี 2496 ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาประติมากรรม
ปี 2507 รักษาการตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สืบต่อจากอาจารย์ศิลป์ พีระศรี และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2514 รวมอายุได้ 49 ปี

ผลงานของเขียนแสดงออกด้วยเรื่องราวและลักษณะของไทย คล้ายประติมากรรมสมัยสุโขทัยมาผสมผสานกับทัศนะส่วนตัวนำเสนอในลักษณะสมัยใหม่ เสียงขลุ่ยทิพย์เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างมาก

ประติมากรรม “เสียงขลุ่ยทิพย์ (Musical Rhythm) พ.ศ.๒๔๙๒ โดย ผศ.เขียน ยิ้มศิริ ได้รับแรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย มาสร้างสรรค์งานประติมากรรมที่ผสมผสานจังหวะลีลาและเส้นสายของศิลปะไทย กับความเรียบง่ายของรูปทรงแบบสากลอย่างงดงาม จนได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๒

ประติมากรรมขลุ่ยทิพย์ ผลงานของอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ เป็นประติมากรรมชิ้นเยี่ยม ซึ่งเห็นได้จากบุคคลิกลักษณะของนักเป่าขลุ่ย ในขณะบรรเลงตามจังหวะและท่วงทำนองของเพลงขลุ่ย จากลีลาและบุคลิกที่เกิดขึ้น จึงเป็นแรงบันดาลใจที่ผลักดันให้ศิลปินได้สร้างสรรค์จากแรงประทับใจออกมา โดยวิธีทางประติมากรรม จนเป็นที่ยกย่องแก่คนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ เมื่อได้สัมผัสกับผลงานของศิลปิน ประติมากรรมที่อ่อนช้อยงดงามผสมกลมกลืนกันกับจินตนากรเสียงขลุ่ยทิพย์สะกดเป็นมนต์ขลังแก่ผู้ชมงานประติมากรรมให้หวนคำนึงถึงลมแผ่ว ที่บรรเลงจากลำไม้ของนักขลุ่ยสยามประเทศ และผลงานของประติมากรผู้ลุ่มลึกในทักษะและท้วงท่าของการบรรเลงเพลงขลุ่ยภาพราตรีประดับดาว (STARRY NIGHT) ผลงานของศิลปิน VAN GOGH ที่ถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็นบรรยากาศของโลกในยามค่ำ ที่มีแสงดาวระยิบระยับ และความสว่างไสวของพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่หมุนเวียนในบรรยากาศ อันเป็นธรรมชาติในจักรวาล สะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศ ของความสันโดษและสิ้นหวังอันเป็นลักษณะแท้จริงของบุคลิกลักษณะตลอดจนวิถีชีวิตของ VAN GOGH ด้วยลีลาที่ตวัดหมุนวนของเส้นที่แปรงทำให้เกิดความรู้สึก เคลื่อนไหวรุนแรงดุดันและความเศร้าสลดที่บังเกิดขึ้นในตัวของเขาเอง

จากตัวอย่างของบทกวีที่พรรณนาความงามของธรรมชาติที่กล่าวมา ผู้เขียนมีความปรารถนาที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างที่พอสังเกตได้อยู่เพียงสองส่วนส่วนที่หนึ่ง คือ ปรากฏการณ์ที่ปรากฏขึ้นเอง โดยที่มนุษย์ไม่ได้คิดค้นแต่งแต้มให้ปรากฏ เรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติส่วนที่สอง เป็นผลงานที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากประสบการณ์สิ่งแวดล้อม ด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ตามแบบฉบับเฉพาะตนโดยขบวนการทางศิลปะ ตามรูปแบบประทับใจของศิลปะโดยเฉพาะ เช่น บทเพลง ดนตรี บทกวี ประติมากรรม จิตรกรรมและงานสถาปัตยกรรมที่ได้ยกตัวอย่างข้างต้น เรียกว่า งานศิลปะ

ประติมากรรม “แม่กับลูก” (Protector) พ.ศ.๒๔๙๔ โดย ผศ.เขียน ยิ้มศิริ ถ่ายทอดความรู้สึกที่มีความผูกพันกับมารดาผู้ให้กำเนิด ด้วยการบรรจงสร้างให้วงแขนที่โอบอุ้มลูก เป็นสัญลักษณ์ความอบอุ่น การปกป้อง เป็นความรักอันสูงส่งของมารดาพึงมีต่อบุตร

ประติมากรรม “เริงระบำ” โดย ผศ.เขียน ยิ้มศิริ พ.ศ.๒๔๙๖ ประติมากรรมประสานท่วงท่าการร่ายรำแบบไทยกับตะวันตกได้อย่างกลมกลืนและมีชีวิตชีวา แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทต่อศิลปวัฒนธรรมไทยในช่วงชีวิตของศิลปิน

ดินแดนแห่งความยิ้มแย้ม (Land of Smile)

งานแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยจากท่าร่ายรำและเครื่องแต่งกาย ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแสดงความเป็นมิตรอันเป็นลักษณะเด่นของคนไทย