กระทรวงวัฒนธรรมโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
จัดการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด ลักษมีสีดา
เพื่อส่งมอบความสุขส่งท้ายปี โดยจัดแสดงทั่วประเทศ

       โครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั่วทิศแผ่นดินไทย กระทรวงวัฒนธรรมโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ชุด ลักษมีสีดา โดยจัดแสดงทั่วประเทศ ถือเป็นของขวัญจากรัฐบาลเพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชนในโอกาสสำคัญต่าง ๆ และ การมีเวทีระดับประเทศที่เปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศได้แสดงความสามารถ อีกทั้งเพื่อส่งเสริม สืบสาน ทำนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงโขน ตามที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ – ยูเนสโก (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนให้โขนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในระดับชาติ

สำหรับกำหนดการการจัดการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด ลักษมีสีดา
ได้มีการจัดแสดงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 – กันยายน 2565 จำนวน 14 ครั้ง ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ อาทิ

ภาคเหนือ
– วันที่ 26 ธันวาคม 2564  เนื่อง ในงาน “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จังหวัดเชียงใหม่” ณ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
– วันที่ 17 มกราคม 2565  เนื่องในงาน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี พ.ศ. 2565” ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ภาคกลาง
– วันที่ 5 ธันวาคม 2564 เนื่องในงาน “งานเกลือศิลป์ สร้างสรรค์” ณ ริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
– วันที่ 7 ธันวาคม 2564 เนื่องในงาน “งานวัฒนธรรมรวมใจถวายความภักดีน้อมสำนึก เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ”  ณ โรงละครแห่งชาติ ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
– วันที่ 18 ธันวาคม 2564 เนื่องในงาน “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก” ประจำปี พ.ศ. 2564 เพื่อเฉลิมฉลอง 30 ปี ที่ UNESCO ขึ้นทะเบียนอยุธยาเป็นเมืองมรดกโลก ณ ภายในลานวัฒนธรรม บริเวณด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ด้านข้างวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
– วันที่ 23 ธันวาคม 2564 เนื่องในงาน “งานเที่ยวทั่วไทย สไตล์พรีเมี่ยม ครั้งที่ 27” ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ชั้น 7 ทรูไอคอนฮอลล์ กรุงเทพมหานคร
– ช่วงเดือนสิงหาคม 2565 เนื่องในงาน “รำลึกเสด็จประพาสต้นล้นเกล้ารัชกาลที่ 5” ณ ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
– ช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 เนื่องในงาน “งานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกและงานกาชาดจังหวัดอุทัยธานี” ณ จังหวัดอุทัยธานี

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– วันที่ 31 ธันวาคม 2564 เนื่องในงาน “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จังหวัดร้อยเอ็ด” ใน ณ บริเวณลานหน้าหอโหวด จังหวัดร้อยเอ็ด
– วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 เนื่องในงาน “โขนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครบรอบ 66 พรรษา องค์อุปถัมภ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ณ พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ (เฮือนคำมุ) จังหวัดชัยภูมิ
– ระหว่างวันที่ 3 – 6 มีนาคม 2565 เนื่องในงาน “มหกรรมโปงลาง แพรวา กาฬสินธุ์” ณ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ (หลังเก่า) อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– วั
นที่ 20 ธันวาคม 2564นื่องในโครงการศิลปวัฒนธรรมทั่วทิศแผ่นดินไทยร่วมกับงานวันสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 117 ปี ใน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี

ภาคใต้
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เนื่องในงาน “วันศิลปินแห่งชาติ”  ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
– วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เนื่องในงาน “วันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 70 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10”  ณ บริเวณลานพระบรมรูป ร.5 สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ที่บริเวณหน้าพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) มีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการแถลงข่าว โดยได้กล่าวถึงความสำคัญของโขน มรดกทางวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก และนางนิภา โสภาสัมฤทธิ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวถึงรายละเอียดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั่วทิศแผ่นดินไทย

ร่วมด้วยนายประเมษฐ์ บุณยะชัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) พ.ศ. 2563 ผู้จัดทำบทการแสดง นางสาวทัศนีย์ ขุนทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย – คีตศิลป์) พ.ศ. 2555 ผู้บรรจุเพลงร้องในการแสดง รศ.ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) พ.ศ. 2548ผู้กำกับการแสดง ร่วมด้วย ผศ.บุญพาด ฆังคะมะโน จากคณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ดำเนินรายการโดย ผศ.พหลยุทธ กนิษฐบุตร และดร.สุรัตน์ จงดา

 

 

นอกจากนี้ ยังมีศิษย์เก่าจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ได้แก่ “โจ้” สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา และ “เต๋า” ภูศิลป์ วารินรักษ์ นักร้อง-นักแสดงจากช่องวัน มาร่วมงานอีกด้วย