อาจารย์ทวี นันทขว้าง เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมพุทธศักราช 2460 8 เป็นคนอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เพราะชอบศิลปะเป็นชีวิตจิตใจ พอจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในละแวกใกล้บ้าน อาจารย์ทวีจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนเพราะช่าง เรียนอยู่ 2 ปีจนอายุได้ 20 ก็ย้ายมาเรียนที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัย ศิลปากร

ในตอนนั้นเพิ่งเปิดมาได้ 2-3 ปี โดยมีศาตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการสอน อาจารย์ทวี นันทขว้าง จบจากศิลปากรเมื่อปีพุทธศักราช 2491 และไปทำงานเป็นครูสอนศิลปะ ที่โรงเรียนเพาะช่างอยู่ 4 ปี
หลังจากนั้น อาจารย์ทวี นันทขว้าง ก็ย้ายไปอยู่ที่กรมการข้าวอีก 2 ปี จนในที่สุดก็ลาออกมาเป็นศิลปิน อิสระ พร้อมกับเป็นอาจารย์พิเศษช่วยศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี สอนวิชา จิตรกรรม ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพุทธศักราช 2503

อาจารย์ทวี นันทขว้าง ได้รับทุนจากรัฐบาลอิตาลี ให้ไปเรียนต่อที่สถาบัน วิจิตรศิลป์แห่งกรุงโรม ปกติชาวบ้าน ชาวช่อง เขาใช้เวลาเรียน 4 ปีถึงจะจบ อาจารย์ทวี นันทขว้าง พื้นฐานแน่น จากวิทยาลัยเพาะช่างและศิลปากร ท่านจึงใช้เวลาแค่ 2 ปี ก็ได้ใบปริญญา เมื่อกลับมาเมืองไทย
อาจารย์ทวี นันทขว้าง ยังคงมุ่งมั่น สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ควบคู่ไปกับการสอน ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร จนมีลูกศิษย์ ลูกหามากมาย อาจารย์ทวีนันทขว้าง สอนศิลปะจนเกษียณ อายุในปีพุทธศักราช 2528
หลังเกษียณ จึงมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อยู่กับบ้านอย่างเต็มที่ อาจารย์ทวีนั นทขว้าง ทุ่มเททำงานศิลปะ แม้กระทั่งเวลาที่ป่วยเป็นมะเร็ง ขั้นร้ายแรง ทำให้เจ็บปวด ทุกครั้งที่ขยับเขยื้อน แต่อาจารย์ทวี นันทขว้าง ก็ยังฝืนวาดภาพ
อาจารย์ทวี นันทขว้างรัก อิ่มเอมนี่หว่า เพื่อให้จิตใจสงบอิ่มเอม อาจารย์ทวี นันทขว้าง เสียชีวิตเมื่อปีพุทธศักราช 2534 ในวัยเพียง 66 ปี อาจารย์ทวี นันทขว้าง พบรัก และ ครั้งแรกกับสุวรรณี สุคนธา นักเขียนชื่อดัง ทั้งคู่มีบุตรสาวและบุตรชายรวม 4 คน หนึ่งในนั้นคือ วงศ์เมือง นันทขว้าง หรือ น้ำพุ ที่เสียชีวิตจากการใช้ยาเสพติด ด้วยความเสียใจ และอยากให้เป็นอุทาหรณ์ สุวรรณี จึงเขียน เรื่องของน้ำพุ ตีพิมพ์เป็นหนังสือ ตัวสุวรรณี เองก็มีชีวิตที่แสนเศร้า เพราะภายหลัง เธอ ต้อง เสียชีวิต อย่าง โหดเหี้ยม ด้วยคมมีด ของฆาตกร ที่ต้องการเพียงจะชิงทรัพย์ อาจารย์ทวี นันทขว้าง แยกทางกับอาจารย์สุวรรณี ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ เหล่านี้ รักใหม่อีกครั้ง แต่ก็ไปไม่รอด ลองผิดลองถูก จนในที่สุด อาจารย์ทวี นันทขว้าง ก็สมรสกับ บุญรักษา จันทร์ส่องแสง และมีบุตร สาวด้วยกัน 1 คน
ผลงานของอาจารย์ทวีนันทขว้าง ในสมัยยังหนุ่ม จะเป็นงานแนวอิมเพรสชันนิสม์ งานของอาจารย์ทวีนันทขว้าง ในช่วงแรกนั้น มีเอกลักษณ์ ด้วย การป้ายสี ฉับพลัน อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ด้วยทีแปลงกว้างๆ ก่อนจะจบงาน ด้วยการตัดเส้น รอบๆ รูปทรงต่างๆ เน้นความหนักแน่น เนื้อหาของภาพ ในยุคแรก มักเป็นภาพวัด ภาพหุ่นนิ่ง และภาพเหมือนบุคคล หลังจากนั้น เมื่ออาจารย์ทวีนันทขว้าง มีอายุมากขึ้น ท่านจึงค่อยๆ บรรจงใส่รายละเอียด ยุบยิบ ลง ในภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ จะ เป็นภาพ ดอกบัว ภาพดอก กล้วยไม้ ภาพทิวทัศน์ ขุนเขา และภาพ ป่าดง พงไพร ที่ดูสบายตา

ผลงานของอาจารย์ทวีนันทขว้าง ในยุคนี้ มีเอกลักษณ์ ที่ความลึกล้ำของภาพ อาจารย์ทวีนันทขว้าง ไม่ได้พยายาม เลียนแบบธรรมชาติ สิ่งที่อาจารย์ทวีนันทขว้าง ทำคือ เพิ่มเติม และตัดทอน สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ นำมา จัดองค์ประกอบใหม่ ในบรรยากาศ ที่เหมือนจะอยู่ในความฝัน ก่อให้เกิด ความรู้สึก พิศวง ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการศิลปะ จึงมักจำแนกผลงาน ของอาจารย์ทวีนันทขว้าง เป็นแนวเหนือ จริง หรือ surrealism และ ยกให้เป็นศิลปิน คนแรกๆ ของเมืองไทย ที่ริเริ่ม วาดภาพสไตล์นี้
ต้องบอกเลยว่า ฝีไม้ลายมือ ของ อาจารย์ทวี นันทขว้าง ฉายแวว ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือที่ไหนๆ ในโลก นักเรียนที่ได้คะแนน 100 เต็ม นับว่าหรู สำหรับ อาจารย์ทวี นันทขว้าง งานเรียนของ ท่าน มักจะได้ 100 คะแนนบวก 1 หรือ 100 คะแนน + 3 เรียกได้ว่า เก่งเกิน จนต้องให้คะแนนแบบ ล้นๆ
เป็นที่รู้ดีในมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่างานเรียน ของอาจารย์ทวี นันทขว้าง มักถูกอาจารย์ เลือกมาติด บอร์ดโชว์ อยู่เป็นประจำ ตั้งแต่สมัยเรียน จนกระทั่งกลายมาเป็นอาจารย์สอนศิลปะเสี่ยเอง
ภาพวาดชิ้นต่างๆ ของอาจารย์ทวี นันทขว้าง ได้กวาดรางวัล งานประกวดศิลปะระดับชาติ และ ระดับนานาชาติ
ครั้งหนึ่ง ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี ถึงกับเอ่ยปากชมว่า นายทวี เขาเกิดมาเพื่อเขียนรูป งานของนายทวีนี้ ให้รางวัลที่ 1 ได้ทุกชิ้น ชิ้นไหนก็ได้ ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี อินกับผลงานของ อาจารย์ทวี นันทขว้าง แค่ไหนมีหลักฐานให้ไปดูกันได้ ทุกวันนี้ในห้อง ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี ที่ถูกเก็บรักษา ไว้ในสภาพเดิม และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ บนผนัง ข้างโต๊ะทำงาน ของศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี มีภาพวาดของ อาจารย์ทวี นันทขว้าง หลายชิ้น ติดอยู่
รางวัลและเกียรติยศ ที่อาจารย์ทวั นันทข้างได้รับได้แก่
รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๒ เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒
รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓
รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๔
รางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๗
ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม
รางวัลพิเศษ จากนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ผลงานทิวทัศน์ยอดเยี่ยมประจำปี
รางวัลพิเศษ จากนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ผลงานภาพเหมือนยอดเยี่ยมประจำปี
รางวัลที่ ๒ เหรียญเงิน จากนิทรรศการศิลปะ ณ เมือง BRACCIANO ประเทศอิตาลี
ด้วยความสามารถและรางวัลการันตีมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจ ที่อาจารย์ทวี นันทขว้าง จะได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติ การยกย่อง เชิดชูเกียรติ ให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ในปีพุทธศักราช 2499 และยังได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๓